คลังเก็บหมวดหมู่: เตือนภัย

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) “คาจิกิ” (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 4 กันยายน 2562)”

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
“พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) “คาจิกิ” (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 4 กันยายน 2562)” 
ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 04 กันยายน 2562
     เมื่อเวลา 04.00 น ของวันนี้ (4 กันยายน 2562) พายุระดับ2 (ดีเปรสชัน) “คาจิกิ” บริเวณทะเลจีนใต้ มีศูนย์กลางพายุอยู่ที่ละติจูด 17.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.3 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือค่อนทางตะวันออกเล็กน้อย อย่างช้าๆ ออกห่างจากประเทศเวียดนามเข้าสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในระยะต่อไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประเทศเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ ควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย
        คาดว่าพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
        ในวันที่ 4 กันยายน 2562 บริเวณที่มีฝนตกหนัก
        ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
        ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี และสระบุรี
        ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
        ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
        สำหรับ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่พายุระดับ 2 (ดีเปรสชั่น) “คาจิกิ”        ในทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ยังคงมีกำลังแรงต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนงดออกจากฝั่ง
        จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์        กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
        ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 05.00 น.
        กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้
        (ลงชื่อ) ภูเวียง ประคำมินทร์ 
        (นายภูเวียง ประคำมินทร์) 
        อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

ที่มา | www.tmd.go.th

กลับสู้หน้าหลัก

Total Page Visits: 136048 - Today Page Visits: 8

ปภ.แนะเตรียมรับมืออุทกภัย…ในช่วงฤดูฝน

ปภ.แนะเตรียมรับมืออุทกภัย...ในช่วงฤดูฝน

ปภ.แนะเตรียมรับมืออุทกภัย…ในช่วงฤดูฝน

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยในช่วง
ฤดูฝน ติดตามประกาศแจ้งเตือนภัยจากพยากรณ์อากาศ หากมีฝนตกต่อเนื่องสังเกตระดับน้ำที่ผิดปกติ เตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง พร้อมจัดเตรียมสิ่งของไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เพื่อให้การดำเนินชีวิตในช่วงฤดูฝนเป็นไปอย่างปลอดภัย

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนหลายพื้นที่มีความเสี่ยง
ต่อการเกิดอุทกภัย โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่ม ที่ลาดเชิงเขาและริมฝั่งแม่น้ำ มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ขอแนะวิธีเตรียมพร้อมรับมือและการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยเมื่อเกิดอุทกภัย การเตรียมพร้อมรับมือควรปฏิบัติ ดังนี้

ติดตามข้อมูลสภาพอากาศและปริมาณน้ำในพื้นที่ อาทิ พยากรณ์อากาศ ประกาศเตือนภัย และปริมาณน้ำฝน พร้อมปฏิบัติตาม
คำเตือนอย่างเคร่งครัด หมั่นสังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย หากระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น น้ำในลำน้ำมีสีขุ่นหรือเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับสีดินภูเขา ฝนตกหนักต่อเนื่อง ให้เตรียมพร้อมรับมือ เพื่อจะได้อพยพหนีภัย
ได้ทันท่วงที จัดเตรียมสิ่งของและเครื่องใช้ที่จำเป็น อาทิ เครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค รวมถึงป้องกันน้ำท่วมบ้าน
กำจัดขยะมิให้อุดตันท่อน้ำ ทางระบายน้ำ กำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ ขนย้ายสิ่งของและเครื่องใช้ขึ้นที่สูง ให้พ้นจากระดับน้ำท่วม รวมถึงอพยพสัตว์เลี้ยงและเคลื่อนย้ายยานพาหนะไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ตัดกระแสไฟฟ้า ไม่ใช้และสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือยืนบนพื้นที่ชื้นแฉะ รวมถึงไม่เข้าใกล้แนวสายไฟ เสาไฟฟ้า หรือสัมผัสวัตถุที่เป็น
สื่อนำไฟฟ้า เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว จะทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต

ทั้งนี้การเตรียมพร้อมและเรียนรู้รับมืออุทกภัย
อย่างถูกต้อง จะทำให้การดำเนินชีวิตในช่วงฤดูฝนเป็นไปอย่างปลอดภัย
ข้อมูลจาก  http://www.disaster.go.th

กลับสู่หน้าหลัก

Total Page Visits: 136048 - Today Page Visits: 8

แนะป้องกันตัวเอง และบุตรหลานจากไข้เลือดออก

 แนะป้องกันตัวเอง และบุตรหลานจากไข้เลือดออกป้องกันยุงลาย

         สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ชี้โรคไข้เลือดออกระบาด มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สิ่งสำคัญต้องทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย แหล่งน้ำขังในบ้าน ป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยการนอนในมุ้ง และไปพบแพทย์เมื่อป่วยพร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำ

            นายแพทย์สมศักดิ์ อรรถศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ที่มาจากน้ำลายของยุงที่ไปกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกมาก่อน เมื่อคนถูกยุงกัดจะได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่อาจจะมีอาการน้อยหรือแทบไม่มีอาการ แต่พบว่าประมาณร้อยละ 2 – 4 ของผู้ที่ถูกยุงกัดเกิดอาการมากที่เรียกว่า “ไข้เลือดออกเดงกี่” หรือเรียกทั่วไปว่า “ไข้เลือดออก” ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดตามตัว ซึม รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน ปวดท้อง อาจมีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ และอาการหนักจนมีภาวะช็อก ซึ่งหากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันท่วงทีจะนำไปสู่การเสียชีวิต

         แพทย์หญิงประอร สุประดิษฐ ณ อยุธยา กุมารเวชศาสตร์ – โรคติดเชื้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า การป้องกันโรคไข้เลือดอออกที่สำคัญ คือ ป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัดด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุง ช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ  นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์เมื่อป่วย เป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว มีผื่น หรือมีภาวะเลือดออก เช่น จุดเลือดออกตามตัว เพื่อติดตามอาการและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์  โดยเฉพาะไข้เลือดออกที่เป็นมากจะมีโอกาสเกิดภาวะช็อก เมื่อไข้เริ่มลด พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ควรประมาท ควรติดตามอาการอื่นๆ เช่น อ่อนเพลีย ซึม รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน ปวดท้อง  ถ้ามีอาการดังกล่าวแม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงแล้วควรไปพบแพทย์ วัคซีนไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพดีและมีความปลอดภัย ในผู้ที่เคยป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้ว  จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันโรคไข้เลือดออก  องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีน  ในช่วงอายุ 9-45 ปี  ที่มีหลักฐานยืนยันว่าเคยติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

กลับสู่หน้าหลัก

Total Page Visits: 136048 - Today Page Visits: 8

ประกาศ​ กรมอุตุนิยมวิทยา​ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2562

ประกาศ​ กรมอุตุนิยมวิทยา
“ฝนตกหนัก และคลื่นลมแรง(มีผลกระทบจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2562)” 
ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2562

     ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. 2562 ประเทศไทย​ มีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจาก​ ฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย

โดยจะมีผลกระทบตามภาคต่าง ๆ ดังนี้

วันที่ 26 มิถุนายน 2562

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย น่าน ตาก และกำแพงเพชร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และ​ นครพนม

ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี นครปฐม และสุพรรณบุรี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต

วันที่ 27 มิถุนายน 2562

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ และ​ เพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย  บึงกาฬ​ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ และ​ นครราชสีมา

ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี นครปฐม และ​ สุพรรณบุรี

รวมทั้งกรุงเทพมหานคร​ และ​ ปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และ​ ตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง และพังงา

ทั้งนี้เนื่องจากมรสุม​ ตะวันตกเฉียง​ ใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทย​ มีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับ​ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน​ และ​ อ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มี​ ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมาก​ กว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 29 มิ.ย. 62

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจาก​ กรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา​ จะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 11.00 น.

 

ดาวน์​โหลด​ ประกาศ​  กรมอุตุนิยมวิทยา​ 2019-06-26_05180.pdf (429 downloads )

กลับหน้าแรก

Total Page Visits: 136048 - Today Page Visits: 8

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

การคาดหมาย
บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกน้อยลง ส่วนตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 23-25 มิ.ย. 62 สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ตลอดช่วงข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 23-25 มิ.ย. 62 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันและป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่
ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

7dForecastRegions

https://www.tmd.go.th/programs/uploads/reports/7dForecastRegions.pdf

Total Page Visits: 136048 - Today Page Visits: 8