คลังเก็บป้ายกำกับ: ประชาสัมพันธ์

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกระจับ เรื่อง กำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ พ.ศ. 2563

กำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ

Total Page Visits: 135856 - Today Page Visits: 25

อาการแบบนี้ ไวรัส หรือแบคทีเรีย

อาการแบบนี้ ไวรัส หรือแบคทีเรีย

เมื่อเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนฤดูในทุกครั้ง สภาพอากาศรอบตัวเราก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากร้อนเป็นฝน จากฝนเป็นหนาว และจากหนาวเป็นร้อน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ ป่วยเป็นไข้หวัดกันได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง ยิ่งจะป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่าย เมื่อมีอาการหวัดคนส่วนใหญ่ก็มักจะเข้าใจผิดว่าจะต้องรับประทานยาแก้อักเสบทุกครั้งไป

แต่จริง ๆ แล้วการใช้ยาแก้อักเสบเพื่อรักษาหวัดนั้นจำเป็นเฉพาะในกรณีที่เป็นหวัดและมีการอักเสบเท่านั้น แล้วไข้หวัดแบบไหนกันที่จำเป็นและไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้อักเสบ ?
คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมกินยาเท่าไรโรคก็ไม่หาย เมื่อยาปฏิชีวนะที่กินเข้าไปกลับ ทำร้าย ร่างกาย นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังมี เชื้อดื้อยา

วิธีการวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยตัวเองว่าอาการป่วยที่เราเป็นอยู่นั้นเกิดจากเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรียกันแน่

อาการแบบนี้ ไวรัส หรือแบคทีเรีย   thaihealth

เกิดจากไวรัส    อาการส่วนใหญ่มักมีน้ำมูก ไอ อาจมีอาการระคายคอ หรือเจ็บคอ หรือเสียงแหบร่วมด้วย

อาการแบบนี้ ไวรัส หรือแบคทีเรีย   thaihealth

วิธีการรักษา หวัด เกิดจากเชื้อ ไวรัส สามารถหายได้เองจากการพักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น ดื่มน้ำมาก ๆ อาจใช้เวลา 5 – 7 วัน อาการจะดีขึ้นเอง แนะนำให้กลั้วคอด้วยนน้ำเกลือเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียตามมา

อาการแบบนี้ ไวรัส หรือแบคทีเรีย   thaihealth

เกิดจากแบคทีเรีย ต้องมีอาการ 3 ใน 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

1.ต่อมทอมซิลบวม หรือ มีจุดหนอง

2.ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรหน้าบวมโต กดเจ็บ

3.มีไข้ (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส)

4.ไม่มีอาการไอ

อาการแบบนี้ ไวรัส หรือแบคทีเรีย   thaihealth

วิธีการรักษา ปรึกษาเภสัชกร หรือไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าควรใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่

วิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง
1. ยาปฏิชีวนะแต่ละชนิด ต้องกินต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียได้หมด ซึ่งระยะเวลาที่ต้องใช้ยาต่อเนื่องกันอาจแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของยา

2.การรับประทานยาปฏิชีวนะบางชนิด ข้อควรระวังการใช้พิเศษ เช่น บางชนิดต้องรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 15 – 30 นาที บางชนิดไม่ควรรับประทานร่วมกับนมหรือยาลดกรด เนื่องจากจะทำให้เกิดการรบกวนการดูดซึมตัวยาได้ อ่านฉลากก่อนใช้ยา

ผลกระทบจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม

1. การได้รับยาปฏิชีวนะในแต่ละครั้ง สร้างโอกาสให้เกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะในร่างกาย เพราะยาปฏิชีวนะที่กินเข้าไปสามารถกำจัดแบคทีเรียได้ทั้งแบคทีเรียที่มีประโยชน์และมีโทษ แบคทีเรียที่รอดชีวิตจึงสร้างตัวเองให้กลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยา การได้รับยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็นหรือขนาดไม่เหมาะสมอย่างพร่ำเพรื่อจะทำให้เกิด ซูเปอร์บั๊ก หรือ แบคทีเรียดื้อยาที่ไม่มียารักษา

2. เพิ่มโอกาสเกิดการแพ้ยา พบว่ามีผู้ป่วยที่แพ้ยาปฏิชีวนะจนมีอาการรุนแรง หรือเสียชีวิตได้

3. การได้ยาปฏิชีวนะบ่อยครั้งในทารก และเด็กเล็กเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคอ้วนและน้ำหนักเกิน

อาการแบบนี้ ไวรัส หรือแบคทีเรีย   thaihealth

การดูแลสุขภาพเบื้องต้นและการป้องกัน

1.ดื่มน้ำเยอะ ๆ

2.กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ

3.ล้างจมูก

4.พักผ่อนให้เพียงพอ

5.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

6.กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

7.ใส่หน้ากากอนามัย

อาการแบบนี้ ไวรัส หรือแบคทีเรีย   thaihealth

            ในด้านของการรณรงค์ การป้องกันนั้น ผศ.นพ.กำธร  มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ได้บอกกับเราว่า จะต้องให้ประชาชนมีการตระหนักรู้ เมื่อตระหนักรู้ก็จะเป็นแรงผลักดัน เพราะพอเวลาเภสัชกร หรือแพทย์จะจ่ายยาให้ประชาชน เมื่อเจอคำถามที่ว่าเป็นไวรัสหรือแบคทีเรีย ก็จะคิดตามว่าเอ๊ะจะจ่ายยาดีไหม ในขณะเดียวกันเราต้องไปรณรงค์ในภาควิชาชีพด้วย อันนี้เราก็ทำอยู่ จะมีเภสัชกร แพทย์จำนวนไม่น้อยเลยที่ขณะนี้เริ่มตระหนัก มีคนตื่นตัวมากขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับที่เราคิดว่าเราต้องทำงานอีกเยอะ ทั้งนี้ความตื่นตัวของแพทย์ เภสัชกร และก็กฎหมายด้วยให้มีกฎระเบียบการควบคุม การจำหน่ายยาปฏิชีวนะโดยอิสระต้องมาพิจารณากันใหม่ว่าเอ๊ะจะจำกัดขอบเขตอย่างไรเพื่อให้ไม่มีการใช้แบบพร่ำเพรื่อเกินไป ในขณะที่ไม่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงยาของประชาชน

อาการแบบนี้ ไวรัส หรือแบคทีเรีย   thaihealth
อาการแบบนี้ ไวรัส หรือแบคทีเรีย   thaihealth

            อย่างไรก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุผลเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำมาซึ่งปัญหาเชื้อดื้อยาที่ภาวะรุนแรงส่งผลกระทบต่อชีวิต ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศ และเพิ่มความเสี่ยงจากอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ  เชื้อดื้อยาเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่สำคัญของประเทศ แก้ไขปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล จำเป็นที่ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง และใช้หลากหลายมาตรการ/กลวิธี ต้อง ได้รับความร่วมกันจากทุกภาคส่วน  นำมาสู่การแก้ไข ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุผล เพื่อเกิดการใช้ยาที่คุ้มค่า และปลอดภัย เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ดังที่ขององค์การอนามัยโลกนิยามว่า คือ “การใช้ยาที่ผู้ป่วย ได้รับยาที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วย ในขนาดยาที่เหมาะสมกับสภาวะ การทำงานของร่างกาย โดยได้รับยาเป็นระยะเวลาที่เพียงพอเหมาะสม และมีค่าใช้จ่ายต่อตัวผู้ป่วยและ ชุมชนน้อยที่สุด”

                         ดังนั้น ยาปฏิชีวนะ จำเป็นต้องกินตามแพทย์สั่ง เฉพาะเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ร่วมกับศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และภาคีเครือข่าย เสริมความความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ประชาชนรู้จักวิธีดูแลตนเองในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง

รื่องโดย พัฒน์รพี กมลานนท์ Team content www.thaihealth.or.th
ข้อมูลบางส่วนจาก แผ่นพับหวัดเจ็บคอ ไม่ง้อยา
ให้สัมภาษณ์โดย    ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)                                     

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ       ผศ.นพ.กำธร  มาลาธรรม                               

นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
ภาพโดย นัฐพร ชุ่มลือ Team Content www.thaihealth.or.th และแฟ้มภาพ

กลับสู่หน้าแรก

Total Page Visits: 135856 - Today Page Visits: 25

พิธีมอบประกาศนียบัตรนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุสู่ความเป็นเลิศตำบลบึงกระจับ รุ่นที่3

พิธีมอบประกาศนียบัตรนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุสู่ความเป็นเลิศตำบลบึงกระจับ รุ่นที่3

วันที 18 ธันวาคม 2562 อบต.บึงกระจับ ได้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุสู่ความเป็นเลิศตำบลบึงกระจับ รุ่นที่3 โดยมี นายปกรณ์ ตั้งใจตรง นายอำเภอวิเชียรบุรี เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตรให้แกนักเรียนผู้สูงอายุตำบลบึงกระจับ จำนวน 70 คน

มีคณะผู้บริหารคณะครูโรงเรียนผู้สูงอายุ ผู้นำท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกระจับ ผู้จัดการบริษัทอีโค่โอเรียนท์ รีซอสเซส และคณะบิ๊กซีสาขาวิเชียรบุรี ได้ร่วมพิธีในครั้งนี้

บิ๊กซีซุปเปอร์เซนเตอร์สาขาวิเชียรบุรีใจดีมอบของที่ระลึกให้แก่นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบึงกระจับ จำนวน 20 ชิ้น

ชมภาพกิจกรรมได้ที่ facebook.com/องค์การบริหารส่วนตำบลบึงกระจับ

กลับสู่หน้าแรก

Total Page Visits: 135856 - Today Page Visits: 25

ปภ.แนะเตรียมรับมืออุทกภัย…ในช่วงฤดูฝน

ปภ.แนะเตรียมรับมืออุทกภัย...ในช่วงฤดูฝน

ปภ.แนะเตรียมรับมืออุทกภัย…ในช่วงฤดูฝน

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยในช่วง
ฤดูฝน ติดตามประกาศแจ้งเตือนภัยจากพยากรณ์อากาศ หากมีฝนตกต่อเนื่องสังเกตระดับน้ำที่ผิดปกติ เตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง พร้อมจัดเตรียมสิ่งของไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เพื่อให้การดำเนินชีวิตในช่วงฤดูฝนเป็นไปอย่างปลอดภัย

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนหลายพื้นที่มีความเสี่ยง
ต่อการเกิดอุทกภัย โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่ม ที่ลาดเชิงเขาและริมฝั่งแม่น้ำ มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ขอแนะวิธีเตรียมพร้อมรับมือและการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยเมื่อเกิดอุทกภัย การเตรียมพร้อมรับมือควรปฏิบัติ ดังนี้

ติดตามข้อมูลสภาพอากาศและปริมาณน้ำในพื้นที่ อาทิ พยากรณ์อากาศ ประกาศเตือนภัย และปริมาณน้ำฝน พร้อมปฏิบัติตาม
คำเตือนอย่างเคร่งครัด หมั่นสังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย หากระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น น้ำในลำน้ำมีสีขุ่นหรือเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับสีดินภูเขา ฝนตกหนักต่อเนื่อง ให้เตรียมพร้อมรับมือ เพื่อจะได้อพยพหนีภัย
ได้ทันท่วงที จัดเตรียมสิ่งของและเครื่องใช้ที่จำเป็น อาทิ เครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค รวมถึงป้องกันน้ำท่วมบ้าน
กำจัดขยะมิให้อุดตันท่อน้ำ ทางระบายน้ำ กำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ ขนย้ายสิ่งของและเครื่องใช้ขึ้นที่สูง ให้พ้นจากระดับน้ำท่วม รวมถึงอพยพสัตว์เลี้ยงและเคลื่อนย้ายยานพาหนะไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ตัดกระแสไฟฟ้า ไม่ใช้และสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือยืนบนพื้นที่ชื้นแฉะ รวมถึงไม่เข้าใกล้แนวสายไฟ เสาไฟฟ้า หรือสัมผัสวัตถุที่เป็น
สื่อนำไฟฟ้า เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว จะทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต

ทั้งนี้การเตรียมพร้อมและเรียนรู้รับมืออุทกภัย
อย่างถูกต้อง จะทำให้การดำเนินชีวิตในช่วงฤดูฝนเป็นไปอย่างปลอดภัย
ข้อมูลจาก  http://www.disaster.go.th

กลับสู่หน้าหลัก

Total Page Visits: 135856 - Today Page Visits: 25

แนะป้องกันตัวเอง และบุตรหลานจากไข้เลือดออก

 แนะป้องกันตัวเอง และบุตรหลานจากไข้เลือดออกป้องกันยุงลาย

         สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ชี้โรคไข้เลือดออกระบาด มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สิ่งสำคัญต้องทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย แหล่งน้ำขังในบ้าน ป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยการนอนในมุ้ง และไปพบแพทย์เมื่อป่วยพร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำ

            นายแพทย์สมศักดิ์ อรรถศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ที่มาจากน้ำลายของยุงที่ไปกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกมาก่อน เมื่อคนถูกยุงกัดจะได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่อาจจะมีอาการน้อยหรือแทบไม่มีอาการ แต่พบว่าประมาณร้อยละ 2 – 4 ของผู้ที่ถูกยุงกัดเกิดอาการมากที่เรียกว่า “ไข้เลือดออกเดงกี่” หรือเรียกทั่วไปว่า “ไข้เลือดออก” ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดตามตัว ซึม รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน ปวดท้อง อาจมีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ และอาการหนักจนมีภาวะช็อก ซึ่งหากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันท่วงทีจะนำไปสู่การเสียชีวิต

         แพทย์หญิงประอร สุประดิษฐ ณ อยุธยา กุมารเวชศาสตร์ – โรคติดเชื้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า การป้องกันโรคไข้เลือดอออกที่สำคัญ คือ ป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัดด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุง ช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ  นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์เมื่อป่วย เป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว มีผื่น หรือมีภาวะเลือดออก เช่น จุดเลือดออกตามตัว เพื่อติดตามอาการและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์  โดยเฉพาะไข้เลือดออกที่เป็นมากจะมีโอกาสเกิดภาวะช็อก เมื่อไข้เริ่มลด พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ควรประมาท ควรติดตามอาการอื่นๆ เช่น อ่อนเพลีย ซึม รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน ปวดท้อง  ถ้ามีอาการดังกล่าวแม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงแล้วควรไปพบแพทย์ วัคซีนไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพดีและมีความปลอดภัย ในผู้ที่เคยป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้ว  จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันโรคไข้เลือดออก  องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีน  ในช่วงอายุ 9-45 ปี  ที่มีหลักฐานยืนยันว่าเคยติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

กลับสู่หน้าหลัก

Total Page Visits: 135856 - Today Page Visits: 25